วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิชาเคมี ว 30222





"อะตอมและตารางธาตุ"
(ต้องขอบอกก่อนว่าผมไม่ค่อยเก่งเคมีนะ ฮ่าๆ)

1. แบบจำลองอะตอม หรือ Atomic model

        เป็นภาพทางความคิดที่แสดงให้เห็น รายละเอียดของโครงสร้างอะตอม
ที่สอดคล้องกับผลการทดลองและใช้อธิบายปรากฏการณ์ของอะตอมได้

1.1 แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

                      

                              แบบจำลองอะตอมของดอลตัน



        ดอลตัน มี ชื่อเต็มๆก็คือ จอห์น ดอลตัน เป็นนักวิทย์ฯ ชาวอังกฤษ
ได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลสาร
และอัตราส่วนการรวมตัวของธาตุเป็นสารประกอบ

         สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1) ธาตุประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่า อะตอม  ซึ่งแบ่งแยก
    ทำให้เกิดใหม่ หรือ สูญหายไม่ได้
2) อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่มีสมบัติแตก-
    ต่างจากอะตอมของธาตุอื่น
3) สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิด ทำปฏิกิริยา
    เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ และสามารถเกิดเป็นสาร-
    ประกอบมากกว่าหนึ่งชนิดได้ เช่น H2O , H2O2



1.2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน


                   

                                แบบจำลองอะตอมของทอมสัน


     เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นักวิทย์ฯชาวอังกฤษ และ ออยแกน
โกลด์ชไตน์ นักวิทย์ฯชาวเยอรมัน ได้ทำการทดลองศึกษารังสีที่เกิดขึ้น
ในหลอดรังสีแคโทด

     สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้นะ

1) แก๊สจะนำไฟฟ้าได้ดีในสภาวะความต่างศักย์สูง ความดันต่ำ
2) รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ ซึ่ง ก็คือ อิเล็กตรอน (e-)
      รังสีแคโทด เป็นรังสีที่เกิดจากอิเล็กตรอน 2 ส่วน คือ
      (1) อิเล็กตรอนที่หลุดจากโลหะที่เป็นขั่วแคโทด ได้รับพลังงานไฟฟ้าศักย์สูง
      (2) อิเล็กตรอนจากแก๊สที่ถูกอิเล็กตรอนที่หลุดจากแผ่นโละหะแคโทดชน

3) อัตราส่วนประจุต่อมวล (e/m) ของอิเล็กตรอนของแก๊สทุกชนิดมีค่าเท่ากัน
    คือ 1.76 x 108 คูลอมบ์ต่อกรัม
4) ออยแกน โกลด์ชไตน์ ได้พบอนุภาคที่มีประจุบวก ซึ่งมีประจุเท่ากับอิเล็กตรอน
    เรียกว่า โปรตอน
5) อัตราส่วนประจุต่อมวล (q/m) ของอนุภาคบวกมีค่าไ่ม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของ
    แก๊ส เนื่องจากอะตอมของแก๊สแต่ละชนิดมีมวลไม่เท่ากัน
6) แบบจำลองอะตอมของทอมสันกล่าวว่า "อะตอมเป็นรูปทรงกลม ประกอบด้วย
    เนื้ออะตอมซึ่งมีประจุบวก และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบกระจายอยู่ทั่วไป
    อะตอมในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ"
7) รอเบิร์ต แอนดรูส์ มิลลิแกน นักวิทย์ฯชาวอเมริกาได้ทดลองหาค่าประจุของอิเล็กตรอน
    ได้ค่าประจุเท่ากับ 1.60 x 10-19 คูลอมบ์ และคำนวณมวลได้เท่ากับ 9.11 x 10-28 กรัม


1.3 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

       ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักวิทย์ฯชาวอังกฤษ และฮันส์ไกเกอร์ นักวิทย์ฯ
ชาวเยอรมัน ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟา (α) ไปยังแผ่นทองคำบางๆ และใช้
ฉากเรืองแสงที่เคลือบด้วยซิงค์ซัลไฟด์ ( ZnS) โค้งเป็นวงรอบแผ่นทองคำ เพื่อตรวจ
สอบทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟา



                    



    สรุปผลได้ดังนี้

1) อนุภาค α ส่วนใหญ่วิ่งเป็นเส้นตรง แสดงว่าภายในอะตอมต้องมีที่ว่างอยู่เป็นบริเวณกว้าง
2) อนุภาค α เบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม แสดงว่าอนุภาค α ต้องวิ่งไปใกล้บริเวณที่มีประจุบวก
    จึงเกิดการผลักให้เบี่ยงเบนไป
3) อนุภาค α ส่วนน้อยมากเกิดการสะท้อนกลับ แสดงว่า อนุภาคแอลฟาวิ่งไปชนอนุภาคที่มี
    ประจุบวก และมีมวลมากกว่าอนุภาคแอลฟา


    และจากการทดลองนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดได้เสนอแบบจำลองอะตอมดังนี้

"อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมาก และมีประจุบวกมวลมากอยู่ตรงกลาง
มีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส"


                                    

                                                         แบบจำลองอะตอมของรัทเอทร์ฟอร์ด




___________________________________________________________


ก่อนที่เราจะไปเจอกับแบบจำลองอะตอมแบบต่อไป ตอนนี้ เรามาทำความรู้จักกับ
อนุภาคมูลฐาน เลขอะตอม เลขมวล สํญลักษณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทป ไอโซอิเล็กทรอนิก
ไอโซโทน ไอโซบาร์ กันก่อน 

1) อนุภาคมูลฐาน ประกอบด้วย อนุภาค 3 ชนิด นั้นก็คือ โปรตอน นิวตรอน และ อิเล็กตรอน
   มีสมบัติดังตาราง


2) เลขอะตอม เลขมวล สัญลักษณ์นิวเคลียร์

2.1 สัญลักษณ์นิวเคลียร์ คือ สัญลักษณ์ของธาตุที่เขียนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐานของอะตอม


2.2 เลขอะตอม (Z) แสดงจำนวนโปรตอนของธาตุ ซึ่งไม่ซ้ำกับธาตุอื่น

    เลขอะตอม = โปรตอน = อิเล็กตรอน


2.3 เลขมวล (A) คือ ผลรวมของจำนวนโปรตอน กับ นิวตรอน

    เลขมวล (A) =  p + n


3) ไอโซโทป ไอโซอิเล็กทรอนิก ไอโซโทน ไอโซบาร์

3.1 ไอโซโทป (Isotope) คือ อะตอมของธาตุเดียวกัน มีเลขอะตอม(โปรตอน) เท่ากัน
    แต่มีเลขมวลต่างกัน(นิวตรอนต่างกัน) หรือ มีตัวเลขตัวบนต่างกัน แต่เลขตัวล่างเหมือนกัน
    เช่น 166C , 136C , 146C

     การหามวลอะตอมเฉลี่ยนของธาตุที่มีหลายไอโซโทป
1. ใช้เครื่องมือแมสสเปกโทรมิเตอร์ (Mass Spectrometer) หรือ แมสสเปกโทรกราฟ
   (Mass Spectorgraph)
2. หามวลอะตอมเฉลี่ยจากสูตร


    มวลอะตอมเฉลี่ย = (% ในธรรมชาติ x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / 100

    มวลอะตอมเฉลี่ย = (จำนวนส่วน x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / ผลบวกของจำนวนส่วนทั้งหมด



Ex1) ธาตุ X มี 3 ไอโซโทป คือ 20X มี 40%  20.5X มี 25% ที่เหลือ เป็น 21X มวลอะตอม
     เฉลี่ยของ X เป็นเท่าใด

วิธีคิด  ธาตุ 21X มีปริมาณ = 100 - 40 -25 = 35%
      จากสูตร
         มวลอะตอมเฉลี่ย = (% ในธรรมชาติ x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / 100

                      =(40x20) + (25x20.5) + (35x21) / 100

                      = 800 + 512.5 + 735 / 100

                      = 2047.5/100

                      = 20.475  

      ดังนั้น มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ X = 20.475


Ex2) ธาตุ A มี 2 ไอโซโทป คือ 28A มี 3 ส่วน และ 28.5A มี 2 ส่วน มวลอะตอม
     เฉลี่ยของ A เป็นเท่าใด


วิธีคิด จากสูตร

 มวลอะตอมเฉลี่ย = (จำนวนส่วน x เลขมวลหรือมวลไอโซโทป) / ผลบวกของจำนวนส่วนทั้งหมด

              = (3x28) + (2x28.5)/(3+2)

              = 84-57/5

              = 28.2

ดังนั้น มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A = 28.2



3.2 ไอโซอิเล็กทรอนิก (Isoelectronic) หมายถึง ธาตุหรือไออนของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอน
    เท่ากัน เช่น S2- กับ Ar มีอิเล็กตรอนเท่ากับ 18

3.3 ไอโซโทน (Isotone) หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขอะตอม
    และเลขมวลต่างกัน คือ มีผลต่างของเลขมวลกับเลขอะตอม (เลขตัวบน - เลขตัวล่าง) เท่ากัน
    เช่น 136C กับ 147N

    ธาตุ C มี นิวตรอน = เลขมวล - เลขอะตอม = 13 - 6 = 7
    ธาตุ N มี นิวตรอน = เลขมวล - เลขอะตอม = 14 - 7 = 7

3.4 ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันมีเลขมวลเท่ากัน แต่เลขอะตอมต่างกัน
    (เลขตัวบนเท่ากัน แต่เลขตัวล่างต่างกัน เช่น 146C กับ 147N)